วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โทรทัศน์ครู



เรื่อง....วัดความสุขของเจดีย์




.....ก่อนเข้าเนื้อหา ครูถามเด็กว่า ใครชอบประวัติศาสตร์บ้าง เด็กๆทุกคนต่างให้ความสนใจมาก






กิจกรรม ต้องง่ายต่อนักเรียนและอาจารย์ต้องเข้าใจในสิ่งที่จะมาถ่ายทอดแก่นักเรียน
ครูให้นักเรียนไปหาความสูงของเจดีย์ โดยครูถามก่อนว่า จะวัดได้ไหม ทำกันได้หรือป่าว แล้วครูจึงพาเด็กๆไปเก็บข้อมูล พอเด็กเข้าใจแล้ว เด็กก็สามารถทำได้  

สรุปวิจัย






เรื่อง..การพัฒนาแบบทดสอบวัดทกษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรสําหรับนักเรียนระดับปฐมวัย

 ผู้วิจัย....ประภาพร เทพไพฑูรย



            กระทรวงศึกษาธิการ (2546 : 32 - 35) ไดกลาววา คุณลักษณะตามวัยเปนความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติเมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้น ๆ ผูสอนจําเปนตองทําความเขาใจคุณลักษณะตามวัยของเด็กอาย 3 - 5 ป เพื่อนําไปพิจารณาจดประสบการณ์เด็กแต่ละวัยไดอยางถูกตองและเหมาะสม ขณะเดียวกันจะตองสังเกตเด็กแตละคนซึ่งมีความแตกตาง ระหวางบุคคลเพื่อนําขอมูลไปชวยในการพัฒนาเด็กใหเต็มตามความสามารถและศักยภาพ พัฒนาการเด็กในแตละชวงอายุอาจเร็วหรือชากวาเกณฑทกี่ ําหนดไว  และการพฒนาจะเป็นไปอยางตอเนื่อง ถาสังเกตเห็นวาเด็กไมมีความกาวหนาอยางชดเจนต ั องพาเดกไปปรึกษาผูเช่ยวชาญหรือแพทยเพื่อชวยเหลือและแกไขไดทันทวงทีคุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 5 ป มีดังนี้
 พัฒนาการดานรางกาย
- กระโดดขาเดียวไปขางหนาอยางตอเนื่องได
- รับลูกบอลที่กระดอนจากพนได ื้ ดวยม  ือทงสอง ั้
- เดินขึ้นลงบันไดสลับเทาไดอย างตอเนื่อง
- เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได
- ตัดกระดาษตามแนวเสนโคงที่กําหนด
- ใชกลามเนื้อเลกได ็ ด ีเชน ติดกระดุม ผูกเชื่อกรองเทา ฯลฯ
- ยืดตวั คลองแคลว

พัฒนาการดานอารมณและจิตใจ
- แสดงอารมณได สอดคลองกับสถานการณอยางเหมาะสม
- ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผูอื่น
- ยึดตนเองเปนศูนยกลางนอยลง

พัฒนาการดานสังคม
- ปฏิบัติกิจวัตรประจําวนได ั ดวยตนเอง 
- เลนและทํางานโดยมีจดมุ ุงหมายรวมกับผูอื่นได
- พบผูใหญ  รูจักไหว ทําความเคารพ
- รูจักขอบคุณ เมื่อรับของจากผูใหญ
- รับผิดชอบงานที่ไดรับมอบหมาย

พัฒนาการดานสติปญญา
- บอกความแตกตางของกลิ่น สี เสียง รส รูปราง จําแนก และจดหมวดหม ั ูสิ่งของได
- บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได
- พยายามหาวธิีแกปญหาดวยตนเอง 
- สนทนาโตตอบ/เลาเปนเรองราวได ื่ 
- สรางผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอยดเพ ี ิ่มขึ้นและแปลกใหม
- รูจักใชคําถาม “ทําไม” “อยางไร”
- เริ่มเขาใจสิ่งที่เปนนามธรรม
- นบปากเปล ั าได  ถึง 20
 สรุปไดวา คุณลักษณะตามวัยของเด็กจะพัฒนาตามอายุ ครูและผูที่เกี่ยวของจะตองจ  ัด
ประสบการณให เหมาะสมกบวั ัยของเด็ก เพื่อใหเด็กไดรับการพัฒนาที่เหมาะสม และเต็ม
ตามศักยภาพของตนเอง




ความลับของแสง



ความหมาย
 แสงคือคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนกับคลื่นของน้ำทะเลมีความยาวของคลื่นสั้นมากและในขนาดเดียวกันเคลื่อนที่เร็วมาก 300,000 กิโลเมตร ต่อวินาที เปรียบให้เห็นง่ายๆ ถ้าคนเราวิ่งเร็วเท่ากับแสง ก็เท่ากับวิ่งรอบโลก 7 รอบใน 1 วินาทีตาของเรานั้นมีรูเล็ก เรียกว่ารูรับแสง เมื่อภาพผ่านรูรับแสงก็จะกลับหัวแต่ที่เราเห็นภาพเป็นปกติไม่กลับหัวเพราะสมองกลับภาพให้เป็นปกติโดยอัตโนมัติ ในหลักการสะท้อนของแสง เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุจะพุ่งไปทางทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของแสงที่ส่องลงมาตลอดเวลาเช่นเดียวกับการส่องกระจก จะกลับข้างตัวเราเสมอ เหมือนกับการที่เราใส่นาฬิกาที่ข้างขวาแต่เมื่อส่องกระจกก็กลายเป็นใส่นาฬิกาข้างซ้ายการหักแหของแสงเกิดขึ้นเพราะแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละชนิดกัน เช่น เมื่อแสงเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำนั้นจะมีความหนาแน่นกว่าอากาศ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไปอย่างได้ช้ากว่าในอากาศเส้นทางของแสงจึงหักแหไปด้วย จากนั้นเมื่อพุ่งจากน้ำเข้าสู่อากาศแสงจะเคลื่อนที่ได้เร็ว เส้นทางการเคลื่อนที่ของแสงจึงกลับมาเป็นเหมือนเดิมเงาเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับแสง เกิดขึ้นได้เพราะแสง เป็นหลักธรรมชาติคือเงาของวัตถุจะเกิดขึ้นได้จากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆ เมื่อมีวัตถุเข้ามาขว้างทางเดินของแสงไว้ พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุก็จะดูดกลืน จะสะท้อนแสงบางส่วนออกมา แต่พื้นที่ด้านหลังของวัตถุ แสงส่องไปไม่ถึงเลยไม่มีการสะท้อนแสงเกิดขึ้น จึงเกิดเป็นพื้นที่สีดำๆ ก็คือเงานั้นเอง
วัตถุต่าง ๆ บนโลกมีด้วยกัน 3 แบบ
 1 วัตถุโปร่งแสง คือแสงที่สามารถผ่านทะลุไปได้บางส่วน มองเห็นไม่ชัดเจน
2 วัตถุโปร่งใส คือแสงที่ผ่านไปได้ทั้งหมด
3 วัตถุทึบแสง คือ ดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ แล้วสะท้อนส่วนที่เหลือเข้ามาที่ตาของเรา

ความสำคัญ
ถ้าไม่มีแสง เราก็ไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ แสงมีความสำคัญกับเรามากทั้งต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
เหตุผลสำคัญ
สาเหตุที่เราสามารถมองเห็นวัตถุต่างๆ ได้ก็เพราะว่าแสงส่องมาโดนวัตถุแล้วแสงก็จะสะท้อนกับวัตถุเข้ามาสู่ตาเรา เราเลยมองเห็น เท่ากับว่าตาของเรานั้นคือจอสำหรับแสงที่จะสะท้อนเข้ามาหาวัตถุนั้นเอง ซึ่งการเดินทางของแสงจะพุ่งเป็นเส้นตรง ไม่เปลี่ยนทิศทาง
คุณสมบัติ
เราสามารถนำหลักการมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากการมอง
เห็นสิ่งของต่าง ๆ รอบตัวได้แล้ว ยังมีอีก เช่น ใช้แผ่นพลาสติกเพื่อบังคับ
ทิศทางของแสงไฟ ที่ออกมาจากโคมไฟ จะเห็นได้ว่าแสงมีประโยชน์
ต่อเรามากในการดำรงชีวิตประจำวันของเรา

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ

วันศุกร์ที่  28  พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 13.10-16.40 น.


ให้นักศึกษาออกแบบแผ่นพับสารสัมพันธ์บ้านโรงเรียน
เราต้องให้ความรู้ผู้ปกครองซึ่งมีหลายวิธี 
องค์ประกอบในแผ่นพับ มี ชื่อโรงเรียน  โลโก้  หน่วยที่สอน  ข้างในมีเนื้อหาเพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ปกครอง 
และมีจุดประสงค์ด้วย 







สิ่งทีนำไปพัฒนา  นำเทคนิคที่อาจารย์สอนไปปรับใช้ เช่นการทำแผ่นพับสานสัมพันธ์ ควรทำให้มีความน่าสนใจ ให้ภายในแผ่นพับนั้นมีเนื้อหาที่เป็นความรู้ให้กับผู้ปกครองและมีกิจกรรมหรือบทเพลงที่ผ๔้ปกครองสามารถนำไปท่อง หรือทายเล่นกับลูกได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์  อาจารย์ใช้คำถามถามนักศึกษาเพื่อทดสอบความรู้เดิมหรือความคิดเห็นของนักศึกษา

ประเมินตนเอง      ตั้งใจเรียน และช่วยเพื่อนทำงาน ทำแผ่นพับสารสัมพันธ์บ้านโรงเรียน บางครั้งถ้ามีข้อสงสัยก็จะไปถามอาจารย์ทันทีแล้วนำมาแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ถูกต้องตามเนื้อหา ยังใช้ภาษาเขียนไม่ค่อยเป็นเรียบเรียงคำพูดไม่ค่อยได้ต้องขอคำปรึกษาอาจารย์เสมอ
ประเมินเพื่อน        เพื่อนแต่ละกลุ่มมตั้งใจทำแผ่นพับเมื่อมีข้อสงสัยก็ถามอาจารย์ แผ่นพับของเพื่อนแต่ละกลุ่มสวยงามมากค่ะ เพื่อนสนุกสนานในการทำแผ่นพับ
ประเมินอาจารย์    อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสารสัมพันธ์ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง และตั้งใจสอนนักศึกษาใส่ใจกับนักศึกษาทุกคน ห่วงนักศึกษาทุกคนเพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้มีความรู้ไปประกอบวิชาชีพได้


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 13.10-16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับวันนี้

อาจารย์ให้เพื่อนออกมาส่งสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ตั้งเกณฑ์แบ่งประเภทของเล่นต่างๆ







ทำวาฟเฟิล




สิ่งที่นำไปพัฒนา   การแยกประเภทของเล่นวิทยาศาตร์ควรจัดเป็นหมวดหมู่ และการทำขนมถ้าเราใส่ปริมาณน้ำมากจนเกิดไปจะทำให้ขนทออกมาไม่สวยงามและใส่ในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากหรือน่อยจนเกินไป
เทคนิคการสอนของอาจารย์  อาจารย์ให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำเองได้ทำขนมเอง สังเกต 
ประเมินตนเอง    ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์ให้คำแนะนำ สนุกมากค่ะกับการทำขนมตื่นเต้นมาก  แต่วันนี้พูดไม่เพราะต้องขอโทษอาจารย์ด้วยค่ะ
ประเมินเพื่อน      เพื่อนออกไปนำเสนองานวิจัยและบทความ และสนุกกับทำขนมเพื่อนบางคนไม่ทำตามสิ่งที่อาจารย์บอกจึงทำให้การทำขนมช้า
ประเมินอาจารย์  อาจารย์บอกขั้นตอนวิธีการทำขนม และการให้เกียรติอาจารย์ผู้สอนไม่ควรเล่นโทรศัพท์ 




บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 13.10-16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับ...

อาจารย์ให้กลุ่มที่ยังไม่นำเสนอในสัปดาห์ที่แล้ว ให้ออกมานำเสนอต่อ ในสัปดาห์นี้


หน่อยแปลงฟัน

ขั้นนำ  ท่องคำคล้องจองแปรงสีฟันตามคุณครูจากนั้นถามเนื้อหาในคำคล้องจองมีอะไรบ้าง(และเด็กรู้จักแปรงสีฟันอะไรอีก)
ขั้นสอน -   ให้เด็กดูภาพแปรงสีฟันแต่ละชนิด ถามเด็กรู้จักไหมเรียกว่าอะไรและให้เด็กช่วยนับมีทั้งหมดเท่าไหร่และเอาเลขฮินดูอารบิกมากำกับ
         -         ตั้งเกณฑ์แปรงสีฟันที่เป็นของด็กทารก และให้เด็กหยิบออกมา ที่เหลือคือไม่ใช่แปรงเด็กทารก
        -      ถามเด็กคิดว่าแบบไหนมีมากกว่ากัน จากนั้นให้พิสูจน์ จับ 1:1
        -        ถามเด็กว่าแปรงแบบไหนหมดก่อน แปรงเด็กหมดก่อน แสดงว่าแปรงผู้ใหญ่มีมากกว่ามีมากกว่าอยู่เท่าไหร่ มากกว่าอยู่ 1 อัน
ขั้นสรุป ครูและเด็กทบทวนชนิดของแปรงสีฟันและท่องคำคล้องจองอีก1รอบ


หน่อย ผีเสื้อ

วิธีการ
1.ดูรูป
2.ถามเด็กๆว่าผีเสื้อชื่ออะไร
3.สังเกตลักษณะะสี  ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบ
4.บันทึกลงในตาราง
5.หาความสัมพันธ์ เหมือน ต่าง 
6.ทบทวน เรื่องลักษณะของผีเสื้อ


หน่อยกล้วย

1.แยกกล้วยหอมและไม่ใช่กล้วยหอม
2.เด็กหยิบออกมาเพื่อพิสูจน์โดยการหยิบ 1: 1
3.เหลือกล้วยที่ไม่ใช่กล้วยหอมกี่อัน
4.อันไหนหมดก่อน กล้วยหอมหมดก่อนกล้วยที่ไม่ใช่กล้วยหอมเหลือ 1 แสดงว่ากล้อยหอมน้อยกว่ากล้วยที่ไม่ใช่กล้วยหอม


กิจกรรมที่ 2 อาจารย์สอนทำ ทาโกะยากิ





ประเมินตนเอง    ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์ให้คำแนะนำกลุ่มเพื่อนที่ออกมานำเสนอแผน ชอบตอนทำ Cooking มากค่ะและตอนนำเสนองานวิจัยมีข้อบกพร่องแต่อาจารย์ก้ให้โอกาสไปหามาเพิ่มเติมแล้วอธิบายให้เพื่อนในห้องฟังเพื่อจะได้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย
ประเมินเพื่อน     เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำบางส่วน และสนุกสนานในการทำ Cooking มาก และตั้งใจตอบคำถามและฟังเพื่อนเสนองานวิจัย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ตั้งใจสอน และให้คำแนะนำอย่างละเอียดมากใช้คำถามถามนักศึกษาว่าเข้าใจและสามาถอธิบายถูกต้องหรือไม่ เพราะอยากให้นักศึกาษาเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสอนจริงๆเมื่อไปฝึกสอนจะได้สอนได้ถูกต้อง


บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันศุกร์ 7 พฤศจิกายน .. 2557  
เวลาเรียน 13.00-16.40น.




อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการสอน
 

หน่อย กบ


หน่อย กระหล่ำปลี


หน่อยส้ม


หน่อยดอกมะลิ


หน่อยไก่

                                                                   
                                                                      หน่อยปลา



ประเมินตนเอง     สนุกตื่นเต้นเวลาที่เพื่อนออกมานำเสนอ กลุ่มที่ ออกมาทำอาหารทำให้หิวมากค่ะ ได้ชิม ดอกมะลิทอด ปลาทูทอด น้ำส้ม ด้วย และตอนที่ดิฉันออกไปสอนควบคุมสติไม่ได้ตื่นเต้น จากที่เตรียมมาลืมหมดเลย จะพยายามอีกค่ะครั้งต่อไป

ประเมินเพื่อน      เพื่อนๆตั้งใจฟังเวลาที่แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ และให้ความร่วมมือเวลาที่เพื่อนขอตัวแทนออกมาทำกิจกรรมหน้าห้อง เวลาที่กลุ่มที่ออกมาทำอาหารเพื่อนแต่ละคนจะเกิดอาการหิว เพราะกลิ่นหอมมากๆและตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำเป็นส่วนใหญ่

ประเมินอาจารย์    อาจารย์ให้คำแนะนำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีที่จะสอน เช่น ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุปกับนักศึกษาดีมาก และให้บางกลุ่มให้นำเสนออาทิตย์ต่อไปเพราะ ไม่ได้เตรียมการสอน



วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ


วันศุกร์ที่ 24  ตุลาคม 2557
เวลาเรียน 13.10-16.40 น.



ความรู้ที่ได้รับ
เพื่อนออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์








 ควรมีหลักเกณฑ์การเลือกเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็กหรือผู้เรียนดังนี้

                - การเลือกสื่อควรพิจารณาให้มีความสัมพันธ์กับเรื่องที่ต้องการให้เด็กๆได้เรียนรู้ เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ และสอดคล้องกับเนื้อหาอย่างครบถ้วน
                - การนำสื่อไปใช้ในกิจกรรมหรือประสบการณ์ให้เด็ก ต้องคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นก่อนนำสื่อไปใช้ให้เกิดประสิทธิผล ควรมีการทดลองใช้และติดตามผลการใช้สื่อนั้นๆ ก่อน
                - สื่อควรสร้างเสริมความคิดและให้แนวทางในการแก้ปัญหาได้หลายๆ ด้าน
                - สื่อต้องเหมาะสมกับวัย เพศ ระดับความรู้ ประสบการณ์เดิมของผู้รับ
                - สื่อนั้นๆ ผู้รับควรรับรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าให้มากที่สุดควรนำศิลปวัฒนธรรม ประเพณี หรือทรัพยากรต่างๆ ในท้องถิ่น มาใช้เป็นสื่อให้มากที่สุด

ประเมินตนเอง   วันนี้ตั้งใจเวลาที่เพื่อนออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์และรับฟังคำแนะนำจากอาจารย์
ประเมินเพื่อน      เพื่อนตั้งใจฟังและฟังคำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
ประเมินอาจารย์   อาจารย์ใช้คำถามถามนักศึกษาว่าของเล่นที่นำมาเสนอเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร มันเคลื่อนที่ได้ เพราะอะไร 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันอาทิตย์  ที่ 18 ตุลาคม 2557
เวลาเรียน 13.00 - 16.40 น.





หมายเหตุ  :  เรียนจดเชย

             ความรู้ที่ได้รับ..

          วันนี้อาจารย์ตรวจแผนการสอนของแต่ละกลุ่ม และทบทวนเรื่องการเขียนแผน
การเขียนแผนจะต้องมีความสอดคล้องกันทั้งจุดประสงค์ สาระที่ควรเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญและกิจกรรม


การนำความรู้ไปใช้
    - สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัยได้
และสามารถเลือกเนื้อหาที่จะสอนกับเด็กได้อย่างเหมาะสม





ประเมิน
ประเมินตนเอง  ตั้งใจเรียนและตอบคำถามสิ่งที่อาจารย์ถามและนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการเขียนแผนจัดประสบการณ์
                         ประเมินเพื่อน   เพื่อนบางคนตั้งใจบางคนก็คุยกันในห้องและให้ความร่วมมือในการตอบคำถามของอาจารย์
                         ประเมินอาจารย์  อาจารย์ตั้งใจสอนและถ่ายทอดความรู้ให้นักศึกษายกตัวอย่างให้ฟังอย่างเข้าใจใช้คำถามถามนักศึกษาเพื่อทดสอบความเข้าใจ



วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วิชา วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วันศุกร์  ที่ 17  ตุลาคม  2557
เวลาเรียน  13.00 - 16.40 น.



ความรู้ที่ได้รับ



อาจารย์สอน การเขียนแผนประสบการณ์ ของวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การเลือกหัวข้อเรื่อง : ควรเลือกบริบทและสภาพแวดล้อมหรือเป็นเรื่องใกล้ตัว เช่น
ธรรมชาติรอบตัวเด็ก  การเขียนแผนจะต้องมีความสอดคล้องกับจุดประสงค์สาระที่ควรเรียนรู้ประสบการณ์สำคัญ และกิจกรรม



การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของแต่ละวิชาได้ เพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมตรงตามวัตถุประสงค์ที่เราตั้งไว้
- สามารถนำแนวทางการเขียนแผนไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นๆได้ เช่น การเคลื่อนไหว กิจกรรมกลางแจ้ง ศิลปะสร้างสรรค์
- ทำให้เข้าใจวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิชา วิทยาศาสตร์มากขึ้น


การประเมิน

ประเมินตนเองตั้งใจอาจารย์อธิบายและสอนแผนการจัดประสบการณ์ มาเรียนตรงเลา
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน และฟังอาจารย์สอน ร่วมกิจกรรม
ปะมินอาจารย์ : อาจารย์สอนอธิบายแผนได้เข้าใจมาก และยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้นักศึกษาได้              เข้าใจมากขึ้น 



บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน 
วิชา วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันศุกร์ ที่ 10 ตุลาคม 2557


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาคค่ะ




บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

วัน  ศุกร์  ที่ 3 ตุลาคม  2557
เวลา 13.00-16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้ทำสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์

อุปกรณ์
        1.แกนกระดาษทิชชู 1 อัน
        2.เชือกยาว 1 วา
        3.กรรไกร
        4.กาว
        5.กระดาษที่ตัดเป็นวงกลม
        6.ที่เจาะรู้

ขั้นตอนการทำ
1. ตัดแกนกระดาษแบ่งครึ่ง
2. เจาะรูแกนกระดาษที่งสองข้าง
3. นำกระดาษที่วาดภาพที่เราจิตนาการมาติดที่แกนกระดาษ
4. นำเชือกมารอยที่เจาะรูไว้แล้วมัดปมเชือก

วิธีเล่นอาจจะมีหลากหลายวิธีที่เด็กสามารถที่่จะคิดและจิตนาการได้




การนำไปใช้ : สามารถที่จะนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ

การประเมิน
ตนเอง: สามารถที่จะตอบคำถามของอาจารย์ได้บางซึ่งทำให้เราเข้าใจในเนื้อหาได้มากขึ้น

เพื่อน: มีความตั้งใจในการเรียนอาจจะมีคุยบางแต่ก็มีความพยายามที่จะช่วยกันตอบคำถาม

อาจารย์: ใช้เทคนิคการสอนที่เปิดโอกาสให้ผูเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อนำไปสู้บทเรียนหรือเนื้อหาที่จะสอนและสามารถที่จะอธิบายให้นศ.เข้าใจอย่างละเอียดกับการทำกิจกรรม