วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่6

บันทึกอนุทิน 
วิชา วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วัน ศุกร์  ที่ 26 กันยายน 2557
เวลาเรียน 13.00-16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์นำเสนอตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อุปกรณ์

1. กระดาษสี

2. กรรไกร
3. คลิบหนีบกระดาษ




วิธีทำ

1.พับกระดาษครึ่งหนึ่ง

2.ตัดตรงกลางออกเป็นสองซีก
3.จากนั้นพับกระดาษตรงปลายขึ้นเล็กน้อยแล้วเอาไม้หนีบมาหนีบไว้
4.โยนขึ้นแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น


หลังจากทำกังหันเสร็จ อาจารย์ให้อกกมานำเสนอผลงานว่าเป็นอย่างไร โดยให้โยนขึ้นไปบนอากาศ แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกังหัน ดิฉันได้สังเกต พบว่า เพื่อนถึงครึ่งนั้น โยนขึ้นไปในอากาศพอตกลงมาจะเป็นหมุนเป็นเกลียวลงมาถึงพื้น แต่เพื่อนที่ตัดกระดาษไม่ถึงครึ่ง พอโยนขึ้นไปแล้วตกลงมาไม่หมุนเป็นเกลียว เนื่องจากกระดาษที่ตัดถึงครึ่งนั้น พอหลนสู่พื่น จะเกิดอากาศดันใต้กระดาษ ทำให้เวลาหล่นจะหล่นเป็นเกลียว


กิจกรรมที่ 2

อาจารย์ให้เพื่อนที่เตรียมบทความออกมานำเสนอบทความ ดังนี้

เรื่องที่ 1 วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ของ นางสาวมธุรินทร์ อ่อนพิมพ์
เรื่องที่ 2 วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของ นางสาวจุฑาทิพย์ เขตนิมิตร
เรื่องที่ 3 การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของ นางสาวบุษราคัม สะรุโณ
เรื่องที่ 4 สอนลูกเรื่องอากาศ ของ นางสาวพรวลัญช์ คงสัตย์
เรื่องที่ 5 ฝึกทักษะสังเกตนำลูกสู่วิทยาศาสตร์ ของ นางสาวเนตรนภา ไชยแดง



อาจารย์ได้เพิ่มเติม หน่วยการเรียนรู้ และได้แนะแนวทางแก้ไข








สิ่งที่นำไปพัฒนา
ในการทำกิจกรรมที่เราสอนเด็ก เราอย่าพึ่งบอกเด็กให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ ได้รู้จักการสังเกต คำถามกระตุ้นเด็กให้เด็กได้ตอบคำถาม เป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจของเด็กไปด้วย ถ้าเด็กสงสัยครูก็อธิบายให้เด็กฟัง หรือทดสอบให้เด็กการเปรียบเทียบ ด้วยตนเอง และเด็กจะเกิดความสนใจในกิจกรรมที่กระทำอยู่เพราะเด็กเกิดความสงสัย อยากรู้อยากเห็น โดยครูจะคอยเป็นผู้อำนวยความสะดวกและตั้งคำถามให้เด็ก
เทคนิคการสอน  รู้จักการสังเกต การเปรียบเทียบ ตอนที่ทำกิจกรรมอาจารย์ยังไม่บอกว่าจะทำอะไร บอกแค่วิธีการทำแล้วให้นักศึกษาออกมาทำให้เพื่อนดูหน้าห้องสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความสงสัย เกิดคำถาม จนเกิดการเรียนรู้


การประเมิน


ประเมินตนเอง

                 สนุกกับกิจกรรมวันนี้มากค่ะ มีประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆเด็กก็สามารถทำได้ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอนและออกไปทำให้เพื่อนดูหน้าห้อง
ประเมินเพื่อน
               เพื่อนๆสนุกสนานในการทำกิจกรรมในการประดิษฐ์ของเล่นและตั้งใจเรียนสนใจในสิ่งที่อาจารย์สอน เพื่อนบางคนนั่งไม่เรียบร้อย และเสียงดังบางครั้ง 
ประเมินอาจารย์
             อาจารย์เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ให้นักศึกษาทำกิจกรรมในห้องและให้ความรู้ให้คำแนะนำกับสิ่งที่สอนและแนะนำในการเขียน Mind map 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น